วันอังคารที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2561

นวัตกรรม การ์ดสีเตือนไต


"นวัตกรรม การ์ดสีเตือนไต "



หลักการและเหตุผล                                                                                                                             
           โรคไตเรื้อรัง (chronic kidney disease, CKD) เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ สาเหตุของโรคไตเรื้อรังที่พบบ่อยเกิดจากโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง อีกทั้งโรคไตเรื้อรังในระยะแรกมักไม่พบอาการผิดปกติทำให้ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่ทราบว่าตนเองเป็นโรคไต โดยมักตรวจพบเมื่อโรคดำเนินไปมาก แล้วหรือเมื่อโรคดำเนินเข้าสู่ระยะไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย (End stage renal disease, ESRD) ซึ่งเป็นระยะที่ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการรักษาบำบัดทดแทนไต ได้แก่ การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม การล้างไต ทางช่องท้อง หรือการผ่าตัดปลูกถ่ายไต ซึ่งส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้                                                                                                                              
           คลินิกโรคไม่ติดเรื้อรังโรงพยาบาลกันทรวิชัย มีผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่ขึ้นทะเบียนรักษา ปี 2559 ทั้งหมด 5,951 คน ได้รับการตรวจการทำงานของไต จำนวน 5,230 คน คิดเป็นร้อยละ 87.88 (รพ.กันทรวิชัย 2558) แบ่งระยะไตวายเรื้อรัง 5 ระยะ ดังนี้                                                                                                                         
                           ระยะที่ 1 GFR  ≥  90%     จำนวน 1,897  คน                                                                                     
                           ระยะที่ 2 GFR  60 – 89%  จำนวน 2,187 คน                                                                                    
                           ระยะที่ 3 GFR  30 – 59%   จำนวน  918  คน                                                                                     
                          ระยะที่ 4 GFR  15 – 29%   จำนวน  148  คน                                                                                     
                          ระยะที่ 5 GFR < 15 %        จำนวน    80 คน                                                                      
             โดยในระยะที่ 5 มีผู้ป่วยที่ได้รับการบำบัดทดแทนไต  ล้างไตทางช่องท้อง (CAPD) จำนวน 15 คน ฟอกเลือด ด้วยเครื่องไตเทียม (HD) จำนวน 5 คน และปฏิเสธการบำบัดทดแทนไตดูแลแบบประคับประครอง จำนวน 60 คน           
            ดังนั้น คลินิกโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โรงพยาบาลกันทรวิชัย จึงได้จัดทำ“การ์ดสีเตือนไต” ขึ้น เพื่อเป็นเครื่องมือในการติดตามเฝ้าระวังโรคไตเรื้อรังของผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงตั้งแต่ ระยะที่ 1- 5 ส่งเสริมการเรียนรู้และสร้างความตระหนักในการชะลอภาวะไตเสื่อม ป้องกันไม่ให้เกิดโรค ป้องกัน ไม่ให้โรคลุกลาม และป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนจนมีอันตรายถึงชีวิตหรือพิการ      

วัตถุประสงค์ 
                                                                                                                                  
      1. เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการติดตามเฝ้าระวังโรคไตเรื้อรังของผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ตั้งแต่ ระยะที่ 1 – 5 
                                                                                                                                                    2. เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้และสร้างความตระหนักในการชะลอภาวะไตเสื่อม ป้องกันไม่ให้เกิดโรค ป้องกันไม่ให้โรคลุกลาม และป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนจนมีอันตรายถึงชีวิตหรือพิการ  โดยการใช้การ์ดสีเตือนไตและสมุดประจำตัว 

ขั้นตอนการดำเนินงาน   
                                                                                                                                                  1. ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับเรื่องโรคไตเรื้อรัง เพื่อหาข้อมูลพื้นฐานที่ผู้ป่วยควรรู้ เช่น ผลตรวจทาง ห้องปฏิบัติการ การแปลผลค่า eGFR ระยะที่ 1 - 5      
                                                                                                                                                  2. ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ/แพทย์ประจำคลินิก เกี่ยวกับเนื้อหาของการ์ดสีระยะที่ 1 – 5         

   3. จัดทำแผนการสอน การชะลอภาวะไตเสื่อม ในผู้ป่วยที่มี eGFR ระดับ 1 - 3 และชะลอการเกิดไตวายระยะสุดท้าย ในผู้ป่วยที่มี eGFR ระดับ 4 - 5 และจัดทำแนวทางการใช้ “การ์ดสีเตือนไต” สำหรับเจ้าหน้าที่



         
                  4. จัดกิจกรรมให้ความรู้เรื่องโรคไตเรื้อรังและการชะลอภาวะไตเสื่อม รายกลุ่ม รายบุคคล  


                  
               5. ติด “การ์ดสีเตือนไต” ในสมุดประจำตัว (ตามการแปลผลค่า eGFR) พร้อมทั้งอธิบาย ผลการตรวจ ทางห้องปฏิบัติที่จำเป็นและเกี่ยวข้อง เน้นย้ำเรื่องการปฏิบัติตัวเพื่อชะลอภาวะไตเสื่อม  ป้องกันไม่ให้เกิดโรค ป้องกันไม่ให้โรคลุกลามและป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนจนมีอันตรายถึงชีวิตหรือพิการ 

                    
             ระยะที่ 1 สีฟ้า 

        
           
           ระยะที่ 2 สีเขียว  


         ระยะที่ 3 สีเหลือง

 
         
           ระยะที่ 4 สีส้ม 

 
         ระยะที่ 5 สีแดง  











         6. จัดเก็บข้อมูล        
                                                                                                                                                           - จัดทำทะเบียนผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่ได้รับการประเมิน eGFR โดยใช้โปรแกรม Microsoft excel แยกระดับ eGFR แบบรายบุคคล (Individual case) และ โปรแกรม HOSxp  



              
            - ติดตามข้อมูลการตรวจ FBS , BP , eGFR กรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมได้หรืออยู่ในเกณฑ์ผิดปกติ ส่งพบ พยาบาลผู้จัดการรายกรณี หรือให้สุขศึกษาแบบเข้มข้นโดยเน้นสร้างความ ตระหนัก เสริมสร้างพลังอำนาจ การรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง ในการใส่ใจดูแลสุขภาพ   
                                                                                                                                                         - ประเมินการใช้สื่อ “การ์ดสีเตือนไต”     

ผลการดำเนินงาน

       1. ผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่มารับบริการที่คลินิกโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โรงพยาบาล กันทรวิชัยทุกคน ได้รับการติดตามเฝ้าระวังโรคไตเรื้อรัง ตั้งแต่ ระยะที่ 1 - 5  

       2. ผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ที่ใช้การ์ดสีเตือนไต เกิดการเรียนรู้และตระหนักในการ ชะลอภาวะไตเสื่อม ป้องกันไม่ให้เกิดโรค ป้องกันไม่ให้โรคลุกลาม และป้องกันไม่ให้เกิด ภาวะแทรกซ้อนจนมีอันตรายถึงชีวิตหรือพิการ โดยประเมินจากเครื่องมือเป็นแบบสำรวจพฤติกรรม การบริโภคอาหารรสเค็ม ในชีวิตประจำวัน (สำนักโภชนาการ, กรมอนามัย) จำนวน 15 ข้อ  
                                                                                                                                                           ครั้งที่ 1 เข้าร่วมกิจกรรม    
                                                                                                                                                                     ผู้ตอบแบบสำรวจพฤติกรรมการบริโภคอาหารรสเค็ม จำนวน 15 ข้อ ส่วนใหญ่ตอบไม่ใช่ คิด     เป็นร้อยละ 72.8 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าปฏิบัติตัวได้ถูกต้องและมีความรู้ ยกเว้นข้อ 5 ที่ถามว่าอาหารที่คุณทำเองมักเติมเครื่องปรุง จำพวก ซุปก้อน ผงปรุงรส ผงชูรส ตอบใช่ มากถึงร้อยละ 66  (เฉพาะข้อ 5)                                                         
             ครั้งที่ 2 เข้าร่วมกิจกรรม                                                                                                                          
                       ผู้ตอบแบบสำรวจพฤติกรรมการบริโภคอาหารรสเค็ม จำนวน 15 ข้อ ส่วนใหญ่ตอบไม่ใช่ คิด          เป็นร้อยละ 92.8 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าปฏิบัติตัวได้ถูกต้องและมีความรู้ สำหรับข้อ 5 ที่ถามว่าอาหารที่  คุณทำเองมักเติมเครื่องปรุง  จำพวก  ซุปก้อน  ผงปรุงรส  ผงชูรส  ตอบใช่  ร้อยละ 48 (เฉพาะข้อ 5)  ลดลงจากครั้งที่ 1                                    
                       จากผลการสำรวจจึงต้องมีการจัดกิจกรรมกระตุ้นเตือน ให้ความรู้ ให้ผู้ป่วยเกิดความตระหนักหัน มาใส่ใจและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคที่เหมาะสมต่อสุขภาพ                                                                        
      3. จากการประเมินความพึงพอใจต่อการใช้สื่อ “การ์ดสีเตือนไต” ในผู้ป่วย จำนวน 30 คน พบว่า ความพึงพอใจต่อสื่อโดยรวม อยู่ในระดับมาก (3 คะแนน) จำนวน 25 คน คิดเป็นร้อยละ 83.33 ความพึงพอใจ ระดับปานกลาง (2 คะแนน) จำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 16.67 ตามลำดับ  ข้อเสนอแนะ(ตอนที่ 3) :  ผู้ป่วยบอกว่า “ดี เพราะทำให้รู้ว่าตนเองมีภาวะไตเสื่อมอยู่ในระดับใด ต้องรับประทานอาหารอย่างไร แต่ก่อนเวลาผลเลือดออกแพทย์ พยาบาล แจ้งผลแต่จากนั้นก็จะลืม  

ประโยชน์ของนวัตกรรมและการนำไปประยุกต์ใช้  
                                                                                      
    1. ผู้ป่วยมีความรู้และเกิดความตระหนักในเรื่องการชะลอภาวะไตเสื่อมของตนเอง                                             
    2. ผู้ป่วยมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารเพื่อชะลอภาวะไตเสื่อมของตนเอง                               
    3. ผู้ป่วยสามารถนำความรู้ไปเผยแพร่ ถ่ายทอดแก่บุคคลอื่นได้                                                                   
    4. กระตุ้นการเรียนรู้และการตระหนักรู้ในเรื่องการทำงานของไตตนเอง                                                           
    5. จัดกลุ่มให้ความรู้เรื่องการชะลอภาวะไตเสื่อม ในผู้ป่วย eGFR stage 3 - 4                                                  
    6. ตรวจเลือดประเมินการทำงานของไต ดูค่า eGFR  (eGFR ลดลง ≤4 มล./นาที/1.73 ตารางเมตร)  ปีละ 2 ครั้ง     
   7. พัฒนาการดำเนินงานชะลอไตเสื่อมลงสู่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและชุมชน (นางวรรณา  ดุบโมเซอ   พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ  รพ.กันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม)

  

วันอังคารที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2561

โรคไต ระยะที่ 4 - 5

โรคเบาหวาน

โรค office syndrome 
                                                                                                                                                                                                                                 
 โรคเกาต์     
                                                                                                                                          
โรคหลอดเลือดสมองแตก  
                                                                                                                 
โรคหลอดเลือดสมองตีบ

กรุณาคลิกดูวิดิทัศน์ด้านล่าง

ความรู้ เรื่องโรคไต



โรคไต (Kidney disease)

ไต คือ อวัยวะที่สำคัญกับร่างกายเช่นเดียวกับอวัยวะอื่นๆเช่น สมอง และหัวใจ ลักษณะภายนอกของไตนั้นมีลักษณะคล้ายเมล็ดถั่วแดง ในคนปกติจะมีไตอยู่ด้วยกัน 2 ข้าง วางอยู่บริเวณบั้นเอว ข้างกระดูกสันหลัง รอบข้างไตมีกระดูกซี่โครงคลุมเพื่อป้องกันอันตราย ไตจะมีข้างละ 1 อัน แต่ละข้างมีน้ำหนักประมาณ 150 กรัม เส้นผ่านศูนย์กลางตามยาวประมาน 1112 เซนติเมตร                                                                                                                                         
ไต ทำหน้าที่ กลั่นกรองน้ำ เกลือแร่ และสารเคมีส่วนเกินที่ร่างกายไม่ต้องการ พร้อมทั้งยังทำการคัดหลั่งของเสียออกจากร่างกาย ในรูปของน้ำปัสสาวะผ่านกรวยไตลงไป เก็บกักในกระเพาะปัสสาวะ เพื่อให้พร้อมในการกำจัดทิ้งออกทางท่อปัสสาวะ นอกจากนี้ ไตยังทำหน้าที่ปรับสมดุลของน้ำและเกลือแร่ กระตุ้นการสร้างเม็ดเลือด ทำการสร้างฮอร์โมนอีกหลากหลายชนิดในร่างกาย และควบคุมความดันโลหิต โดยไตแบ่งออกเป็น 2 ชั้น คือ ไตชั้นนอกและไตชั้นใน โดยแต่ละข้างจะรับเลือดจากหัวใจผ่านทางเส้นเลือดแดงใหญ่ เมื่อเลือดไหลผ่านที่ไต จะมีการกรองผ่านทางท่อหน่วยไตเล็กๆจำนวน 1 ล้านหน่วยในแต่ละข้างของไต (Nephron) หลังจากนั้นจึงปล่อยของเสียที่ผ่านการกรองในรูปของปัสสาวะ(https://medium.com/@thailovehealth/ความรู้โรคไต-และอาการไตวาย)

                                                                                    
          โรคไต คือ โรคที่เกิดจากไตทำงานผิดปกติจึงส่งผลให้เกิดของเสียหายหรือทำงานผิดปกติจนเกิดอาการเจ็บป่วยต่าง ๆ ตามมา เนื่องจากไตไม่สามารถฟอกเลือดหรือไม่สามารถขับของเสียออกจากร่างกายได้ หากป่วยเป็นโรคไต  ไตจะทำงานได้ลดลงจึงก่อให้เกิดการคั่งที่ร่างกาย ส่งผลถึงการทำงานของเนื้อเยื่อหรืออวัยวะต่าง ๆทั่วร่างกาย ก่อให้เกิดอาการผิดปกติต่าง ๆ โรคไตมีหลายประเภท อาทิเช่น โรคไตวายฉับพลัน โรคไตวายเรื้อรัง โรคไตอักเสบ โรคติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ และโรคถุงน้ำที่ไต เป็นต้น                                                                                                   
              โรคไต เป็นโรคพบได้บ่อยโรคหนึ่งทั่วโลก พบเกิดได้ในทุกอายุ ตั้งแต่เด็กแรกเกิดไปจน ถึงผู้สูงอายุ โดยโอกาสเกิดใกล้เคียงกันทั้งในผู้หญิงและในผู้ชาย (https://www.haijai.com/19)                                                                      

ภาวะไตวาย
      ไตวายเป็นภาวะที่ไตสูญเสียหน้าที่การทำงาน ไม่สามารถควบคุมสมดุลน้ำ เกลือแร่ ความเป็นกรดด่าง การกรองของเสียออกจากร่างกายทางปัสสาวะ เช่น urea และการทำหน้าที่สังเคราะห์ฮอร์โมนที่สำคัญๆ เช่น เรนิน ซึ่งทำหน้าที่ในการควบคุมระดับความดัน ฮอร์โมนอิริโทรโปอิติน ที่ทำหน้าที่ร่วมกับไขกระดูกในการผลิตเม็ดเลือดแดง

โรคไตวาย แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ                                                                                                                                               
          - โรคไตเฉียบพลัน คือ โรคไตที่เกิดจากสาเหตุเฉียบพลัน ซึ่งพบได้น้อยและมักสามารถรักษาได้หายในระยะเวลาสั้นๆ เช่น ไตขาดเลือดจากอุบัติเหตุ เป็นต้น        
                                       
          - โรคไตเรื้อรังที่พบได้สูง และเป็นปัญหาทางสาธารณสุขในปัจจุบัน โดยปัจจัยเสี่ยงสำคัญของโรตไตเรื้อรัง คือ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคอ้วน โรคไขมันในเลือดสูง และโรคหัวใจ ดังนั้นสถิติของการเกิดโรคไตเรื้อรังจึงขึ้นกับสถิติของโรคดังกล่าวด้วย นอกจากนั้นโรคไตเรื้อรัง จะพบได้สูงมากขึ้นในช่วงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป เพราะในวัยนี้มักเป็นโรคต่าง ๆที่เป็นปัจจัยเสี่ยงเกิดโรคไตเรื้อรัง(https://www.bumrungrad.com/th/dialysis-center-bangkok-thailand-best-jci-hospital/conditions/kidney-failure)   
                                                                                
                                                          
 สาเหตุโรคไต                                                                                                                                                                             
        - สาเหตุของโรคไตเฉียบพลัน: ซึ่งเป็นโรคพบได้น้อย เช่น ไตขาดเลือดจากร่างกายเสียเลือดมาก ไตได้รับบาดเจ็บโดยตรง (เช่น จากอุบัติเหตุ) ภาวะขาดน้ำรุนแรง ผลข้างเคียงจากยาบางชนิด เช่น ยาแก้ปวดบางชนิด ยาปฏิชีวนะบางชนิดสารทึบแสง/สีที่ฉีดในการวินิจฉัยโรคด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์หรือเอมอาร์ไอ                                                                                                                                                                                            
        - สาเหตุโรคไตเรื้อรัง: ซึ่งเป็นโรคที่พบบ่อยที่สุด คือ จากโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง โรคอ้วน และโรคหัวใจซึ่งจะส่งผลให้เกิดการอักเสบ และ/หรือ การขาดเลือดของเซลล์ไต ส่วนโรคเรื้อรังจากสาเหตุอื่น ๆที่พบได้ เช่น กินอาหารเค็ม โรคไตจาก โรคนิ่วในไต โรคไตอักเสบจากการติดเชื้อโรคออโตอิมมูน/โรคภูมิต้านตนเอง โรคทางพันธุกรรม เช่น มีถุงน้ำหลายๆถุงในไตทั้งสองข้าง (Polycystic kidney disease) และโรคมะเร็งไต       

อาการของภาวะไตวาย  

   อาการของภาวะไตวายเฉียบพลันนั้นขึ้นอยู่กับอายุและความรุนแรงในการสูญเสียหน้าที่ของไตสามารถแบ่งได้เป็น 3 ระยะ คือ                                                                                                                                        


          1.ระยะปัสสาวะออกน้อย (Oliguric-anuric phase) ระยะนี้จะมีปัสสาวะออกน้อยกว่า 400 ml. ใน 24 ชั่วโมงหรืออาจน้อยกว่า 100 ml. ในบางราย มีการสะสมของเสียในเลือด ทำให้เกิดอาการฮีโมไลติกยูรีมิก ( Uremic syndrome - การแตกของเม็ดเลือดแดงในไตอย่างเฉียบพลัน ) จะพบอาการคลื่นไส้ อาเจียน เยื่อบุช่องปากอักเสบ ซึม ชัก และหมดสติ นอกจากนี้ยังพบภาวะไม่สมดุลของเกลือแร่ น้ำ ความเป็นกรดด่างที่ไม่สามารถขับออกได้จากการเผาผลาญ (Metabolic acidosis)ทำให้ระบบหายใจต้องมาช่วยชดเชยการทำงานตรงนี้ ผู้จะมีอาการหายใจเร็วและลึก เพื่อขับก๊าซคาร์บอนไดออกไซน์ออกมากขึ้น เพื่อเป็นการช่วยลดกรดในร่างกาย     

     2.ระยะปัสสาวะออกมาก (Diuretic phase) ระยะนี้ปัสสาวะถูกขับออกมากกว่า 1000 ml. ใน 24 ชั่วโมง ทำให้มีการสูญเสีย โซเดียม โพแทสเซียม คลอไรด์ และน้ำ มีผลให้เกิดอาการช็อคได้ เมื่อเข้าสู่ระยะนี้ระดับของสาร urea และ creatinine (Cr) ลดลง

           3.ระยะฟิ้นฟูสภาพ (Recovery phase) เป็นระยะที่ระดับสาร urea และ creatinine (Cr) ในเลือดกลับเข้าสู่ภาวะปกติ
                           
ระยะของโรคไตเรื้อรัง

ระยะของโรค
รายละเอียดของระยะต่างๆ
ค่าการทำงานของไต (GFR)
ระยะที่ 1
ไตเริ่มเสื่อม (มีโปรตีนในปัสสาวะ) ค่า GFR ปกติ
          90 หรือมากกว่า
ระยะที่ 2
ไตเสื่อม ค่า GFR ลดลงเล็กน้อย
60-89
ระยะที่ 3
ค่า GFR ลดลงปานกลาง
30-59
ระยะที่ 4
ค่า GFR ลดลงมาก
15-29
ระยะที่ 5
ไตวาย
น้อยกว่า 15
 ค่าการทำงานของไตจะบ่งบอกให้แพทย์ทราบได้ว่าไตทำงานได้มากน้อยเพียงใด เมื่ออาการโรคไตยังคงดำเนินต่อไปเรื่อยๆ ค่าการทำงานของไต GFR ก็จะลดลงไปเรื่อยๆ เช่นกัน (https://www.bumrungrad.com/th/nephrology-kidney-center-bangkok-thailand/conditions/ckd-chronic-kidney-disease)                                                         

   แพทย์วินิจฉัยโรคไตได้อย่างไร 

                                                                                                                                                                 แพทย์วินิจฉัยโรคไตได้จากประวัติอาการ ประวัติการเจ็บป่วยต่างๆทั้งในอดีตและในปัจจุ บัน ประวัติการใช้ยา การตรวจร่างกาย การตรวจปัสสาวะ และการตรวจเลือด ดูการทำงานของไต (เช่น สาร Creatinine ย่อว่า Cr, Blood urea nitrogen ย่อว่า BUN, และ Glomerular filtration rate ย่อว่า GFR ) และของเกลือแร่ต่างๆ (เช่น Sodium, Potassium, Calcium, และ Phosphorus) และอาจมีการตรวจต่างๆเพิ่มเติม ทั้งนี้ขึ้นกับ อาการผิดปกติของผู้ป่วย สิ่งผิด ปกติที่แพทย์ตรวจพบ และดุลพินิจของแพทย์ เช่น การตรวจภาพไตด้วย อัลตราซาวด์ เอกซ เรย์คอมพิวเตอร์ หรือ เอมอาร์ไอ และการตัดชิ้นเนื้อจากไตเพื่อการตรวจทางพยาธิวิทยา 
                                                                                                          
                                                                                                                                                         การดูแลรักษาโรคไตวาย  

    1.รักษาสาเหตุของภาวะไตวายเฉียบพลัน คือ พยายามหาสาเหตุของการเกิดให้ได้เร็วที่สุดและหยุดสาเหตุนั้น เช่น แก้ไขภาวะช็อค หรือหยุดยาที่เป็นสาเหตุทำลายไต 


     2.การให้ยาแก้ไขภาวะไตวาย เพื่อกระตุ้นการทำงานของไตและกระตุ้นการขับปัสสาวะ ยาที่นิยมนำมาใช้ส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มของสารกระตุ้นหลอดเลือด (Vasoactive agent) และยาขับปัสสาวะ


     3.การรักษาตามอาการแบบประคับประคอง และควบคุมโรคแทรกซ้อน คือ พยายามคงสมดุลของสารน้ำในร่างกายให้คงที่ และไม่มากจนเกินไป หากสามารถชั่งน้ำหนักผู้ป่วยได้ควรให้น้ำหนักผู้ป่วยลดลงประมาณ 0.2–0.3 กิโลกรัมต่อวัน หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่เป็นพิษต่อไต การเฝ้าระวังภาวะสมดุลของเกลือแร่ อาจมีภาวะผู้ป่วยที่มีแนวโน้มมีโพแทสเซียมในเลือดสูง จึงควรงดอาหารประเภทที่ให้โพแทสเซียมสูง เช่น องุ่น ชา กาแฟ เป็นต้น


    4.การให้สารอาหารที่เหมาะสม จัดอาหารให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายผู้ป่วย โดยควรได้รับพลังงานใน 1 วัน = 30–45Kcal ต่อน้ำหนักผู้ป่วย 1 กิโลกรัม ควรให้สารอาหารที่มีโปรตีนเพียงพอ และควรเป็นโปรตีนชนิดมีคุณค่าทางโภชนาการสูง (high biological value protein) คือโปรตีนจากเนื้อ นม ไข่ และปลา แต่เนื่องจากนมมีสารฟอสเฟตสูง ในผู้ที่ไตวายจึงไม่แนะนำให้ทาน


   5.การล้าง คือกระบวนการที่คิดค้นขึ้นเพื่อทดแทนการทำหน้าที่ของไตที่สูญเสียหน้าที่ไป และช่วยให้เกิดการขจัดของเสีย น้ำ เกลือแร่ที่คั่งอยู่ในร่างกาย และรักษาอาการข้างเคียงที่เกิดจากภาวะไตวายกระบวนการนี้จะช่วยให้ผู้ป่วยโรคไตมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น




การล้างไตมีทั้งหมด 3 วิธีคือ

            1. การฟอกไตด้วยเครื่องฟอกไตเทียม เป็นกระบวนการนำเลือดออกจากร่างกายผู้ป่วยมาฟอกด้วยเครื่องไตเทียม ที่มีตัวกรองเป็นตัวกลางในการกำจัดของเสียและน้ำส่วนเกินออกจากร่างกาย เลือดที่ผ่านการฟอกแล้วจะถูกส่งกลับเข้าสู่ร่างกายผู้ป่วย การฟอกไตด้วยเครื่องโดยส่วนใหญ่ใช้เวลา 4 - 5 ชม./ครั้ง            

             2. การล้างไตทางหน้าท้อง เป็นกระบวนการที่มีการใส่น้ำยาล้างไตเข้าไปค้างไว้ในช่องท้องประมาน 4 - 6 ชม.เพื่อฟอกเอาของเสียและน้ำส่วนเกินในร่างกายออก เมื่อครบกำหนดเวลาก็ปล่อยน้ำยาล้างไตที่มีของเสียและน้ำส่วนเกินทิ้ง และใส่น้ำยาถุงใหม่เข้าไป ส่วนใหญ่มักทำเช่นนี้วันละ 4 รอบ การล้างไตวิธีนี้ผู้ป่วยสามารถทำได้ด้วยตนเองที่บ้าน
            3. การปลูกถ่ายไต เป็นการผ่าตัดนำไตจากผู้บริจาคใส่ในอุ้งเชิงการของผู้รับ แล้วต่อเชื่อมเส้นเลือดและท่อไตเข้ากับไตเก่า โดยไม่ต้องนำไตเก่าออก เป็นวิธีการรักษาที่ให้ประสิทธิภาพสูงที่สุดในปัจจุบัน(https://medthai.com/%E0%B9%84%E0%B8%95%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A2/)





การเตรียมตัวก่อนฟอกไต
       เมื่อมีการสรุปแล้วว่าผู้ป่วยจำเป็นจะต้องได้รับการฟอกไต ผู้ป่วยจะเข้าสู่กระบวนการการเตรียมตัวสำหรับการฟอกไตครั้งแรก นั่นก็คือการผ่าตัดสร้างช่องทางในการฟอกไต ไม่ว่าจะเป็นการผ่าตัดสร้างเส้นฟอกเลือดในผู้ป่วยที่ต้องฟอกไตด้วยเครื่องไตเทียม หรือจะเป็นการสอดท่อเข้าไปภายในผนังช่องท้องเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการฟอกไตทางช่องท้อง โดยอาจจะต้องรอให้แผลจากการผ่าตัดหายดีก่อนจึงจะสามารถเริ่มฟอกไตได้ โดยในขณะพักฟื้นแผลผ่าตัด ผู้ป่วยจะต้องเรียนรู้การฟอกไตทางช่องท้องอย่างถูกวิธีเพื่อที่เมื่อเริ่มฟอกไตผ่านทางช่องท้องได้แล้วจะสามารถทำได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย
      ทั้งนี้ ในระหว่างเตรียมตัวสำหรับการฟอกไตในระยะยาวทั้ง 2 วิธี แพทย์อาจทำการฟอกไตผ่านทางบริเวณคอซึ่งเป็นบริเวณที่ใช้สำหรับการฟอกไตแบบชั่วคราวจนกว่าแพทย์จะเห็นว่าสามารถฟอกไตผ่านช่องทางที่สร้างไว้ได้
      นอกจากนี้ ยังควรสวมใส่เสื้อผ้าที่สบาย เพื่อให้ไม่รู้สึกขณะที่ทำการฟอกไต และควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนหรือผลข้างเคียงจากการฟอกไต

การดูแลตนเองหลังจากล้างไต

          
1.หมั่นสังเกตการขับถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ จำนวนครั้ง สี สังเกตอาการท้องผูก เพราะอาการท้องผูกจะทำให้ความดันในช่องท้องเพิ่มขึ้น ทำให้เกิดไส้เลื่อนหรือการรั่วซึมของน้ำยา

2.ควรชั่งน้ำหนักทุกวัน ไม่ควรให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นมากกว่า 0.5–1 Kg/วัน หากชั่งน้ำหนักขณะที่มีน้ำยาล้างไตค้างท้องอยู่ให้ลบน้ำหนักน้ำยาล้างไตออกด้วย และควรสังเกตอาการบวมตามร่างกายส่วนต่างๆ

3.สังเกตและทำความสะอาดของช่องทางออกของท่อไตทุกวัน และสังเกตบริเวณแผลว่ามีคราบเลือดและหนองหรือไม่

4.สังเกตความขุ่นและสีของน้ำยาล้างไต หากมีความขุ่นหรือมีตะกอนควรมาพบแพทย์

5.ควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ตามสัดส่วนปริมาณที่เหมาะสม

6.รับประทานยาตามแพทย์สั่งสม่ำเสมอ ห้ามหยุดยาเอง และเมื่อพบการผิดปกติควรรีบปรึกษาแพทย์                                                                                                                                                          

ผลข้างเคียง                                        
    การฟอกไตในแต่ละวิธียังส่งผลข้างเคียงที่แตกต่างกันไป ดังนี้
    ผลข้างเคียงจากการฟอกไตด้วยเครื่องไตเทียม การฟอกไตด้วยเครื่องไตเทียมอาจทำให้ผู้ป่วยรู้สึกไม่สบายหรือรู้สึกวิงเวียนศีรษะ และอาจมีอาการตะคริวเกิดขึ้นในระหว่างการฟอกไตได้ สาเหตุเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของระดับของเหลวในร่างกายที่เกิดขึ้นในระหว่างการรักษา และนอกเหนือจากนี้อาจพบภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่ทั้งเป็นอันตรายและไม่เป็นอันตราย เช่น
        - การติดเชื้อ เช่น การติดเชื้อบริเวณเส้นเลือดที่ใช้ฟอก เยื่อหัวใจอักเสบ กระดูกอักเสบ
        - จากเส้นที่ใช้ฟอกเลือด เส้นเลือดโป่งพอง เส้นเลือดอุดตัน เส้นฟอกเลือดอุดตัน เป็นต้น
        -  ภาวะหัวใจผิดปกติ ที่เกิดจากการไหลเวียนเลือดที่ผิดปกติ เช่น ความดันโลหิตต่ำ หัวใจเต้นผิดจังหวะ และภาวะฟองอากาศในหลอดเลือดดำ
        -  อาการไข้ เนื่องจากการติดเชื้อที่เส้นฟอกเลือด
        - อาการแพ้อย่างรุนแรง จากน้ำยาที่ใช้ในการฟอกไต
        - ภาวะเกล็ดเลือดต่ำ หรือเซลล์เม็ดเลือดแดงแตก จากสารเฮพาริน (Heparin) ที่ใช้ในการฟอกไตด้วยเครื่องไตเทียม
       - การเสียสมดุลของปริมาณของเสียในร่างกาย จนทำให้เกิดอาการกระสับกระส่าย ปวดหัว ตัวสั่น หรือเข้าสู่ภาวะโคม่า
       - ปัญหาสุขภาพจิต ทำให้เกิดภาวะซึมเศร้า
       ผลข้างเคียงจากการฟอกไตทางช่องท้อง วิธีการฟอกไตชนิดนี้มักจะส่งผลโดยตรงต่อบริเวณช่องท้องที่ใช้ในการฟอกของเสียออกจากร่างกาย และอาจส่งผลกระทบต่อระบบขับถ่าย เช่น
        - ปัญหาที่เยื่อบุช่องท้อง เช่น เยื่อบุช่องท้องอักเสบ หรือเยื่อบุช่องท้องแข็งตัว
        - ปัญหาเนื่องมาจากท่อที่ใช้ในการฟอกไต ได้แก่ การติดเชื้อ การอุดตัน ท่อฟอกเลือดโค้งงอทำให้การฟอกเลือดเป็นไปได้ช้าลง
        - มีปัญหาระบบขับถ่าย อาทิ ท้องผูก บวมน้ำ
        - ปัญหาสุขภาพจิต ทำให้เกิดภาวะซึมเศร้า
        - มีอาการไส้เลื่อน ที่ขาหนีบ สะดือ หรือบริเวณแผลผ่าตัด
        - น้ำตาลในเลือดสูง
        - น้ำหนักขึ้น
        - ปวดหลัง
        - ภาวะขาดสารอาหาร
   ดังนั้นหากผู้ป่วยมีความรู้สึกผิดปกติหลังจากการฟอกไตและถึงแม้จะพักผ่อนแล้วยังไม่หาย ควรรีบกลับไปพบแพทย์ เพื่อที่จะได้หาทางรับมือและรักษาได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ ป้องกันภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิต
                                                             

 การตรวจคัดกรองโรคไต                                                                                                                                    


การตรวจคัดกรองโรคไตตั้งแต่ยังไม่มีอาการ คือ การตรวจสุขภาพประจำปี โดยเริ่มได้ตั้ง แต่อายุ 15 ถึง 18 ปี ด้วยการตรวจร่างกายกับแพทย์ ตรวจวัดความดันโลหิต การตรวจปัสสาวะ และตรวจเลือดดูการทำงานของไต หรือการตรวจต่าง ๆตามแพทย์แนะนำ                                                                                                                           


 การป้องกันโรคไต    

                                                                                                                                                                     1. หมั่นสนใจสุขภาพของตนเอง และไปรับการตรวจร่างกายเป็นประจำทุกปี เช่น วัดความดันโลหิต ตรวจปัสสาวะ และตรวจเลือดหาระดับของเสียในร่างกาย        

            

 2.  เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และปรุงสุกสะอาด หลีกเหลี่ยงการรับประทานอาหารไขมันสูง ไม่รับประทานโปรตีนมากจนเกินไป และไม่รับประทานอาหารน้อยจนเกินไป หลีกเลี่ยงอาหารหมักดอง อาหารกระป๋อง และอาหารรสจัด ไม่ควรรับประทานอาหารที่เค็มมากเกินไป จะทำให้เกิดอาการบวมน้ำ ลดปริมาณอาหารมื้อเย็น โดยเฉพาะมื้อดึก ให้ความสำคัญกับอาหารมื้อแรกของวัน         

             

3. เลือกออกกำลังกาย อย่างสม่ำเสมอและอย่างเหมาะสม การออกกำลังกายจะสามารถลดระดับความดันโลหิตลงได้ ลดไขมันส่วนเกิน ทำให้นอนหลับง่ายขึ้น และช่วยควบคุมน้ำหนักตัวได้อีกด้วย ไม่ควรออกกำลังกายหักโหม ไม่ควรออกกำลังกายเมื่อร่างกายไม่พร้อม       

            

4. ดื่มน้ำสะอาด อย่างน้อยวันละ 8 แก้วต่อวัน การดื่มน้อยไปจะทำให้ไตเสื่อม แต่ก็อย่าดื่มมากจนเกินไป  
                   

5. ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ผู้ที่อ้วนเกินไป จะทำให้ไตทำงานหนัก และทำให้ความดันภายในไตสูงขึ้น                                                           

            

6. พักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อย 6-8 ชั่วโมงต่อวัน                                                                                                          

            7. ไม่ควรกลั้นปัสสาวะเป็นเวลานาน ๆ และบ่อยครั้งจนเกินไป จากงานวิจัยพบว่า การกลั้นปัสสาวะนาน ๆ เป็นต้นเหตุให้เชื้อโรคแทรกซึมเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะ และเกิดการอักเสบของท่อทางเดินปัสสาวะ                                       

            

8. หลีกเลี่ยงสารเสพติดให้โทษ รวมถึงบุหรี่และสุราด้วย การดื่มแอลกอฮอล์ จะมีผลเสียทั้งตับและไต และการสูบบุหรี่จะทำให้ร่างกายได้รับสารพิษมากกว่า 50 ชนิด และทำให้ไตของผู้ที่สูบจะเสื่อมหน้าที่เร็วขึ้น 2 เท่า                        

            
9. อย่าหลงเชื่องมงาย กับคำโฆษณาของยาบำรุงไต ในท้องตลาดอาหารเสริมบางอย่าง มีเกลือผสมอยู่มาก จนทำให้เกิดโทษในผู้ที่เป็นโรคไตเรื้อรังและโรคความดันโลหิตสูงได้                                                                                        

           10. หลีกเลี่ยงกลุ่มยาที่อาจมีผลต่อไต เช่น ยาแก้ปวดข้อ ปวดเส้น ปวดกล้ามเนื้อ ซึ่งมักจะเป็นยาในกลุ่ม ยาเอ็นเสด (NSAIDs)” ซึ่งเป็นยาลดการอักเสบที่มีฤทธิ์แรงมาก อย่างไรก็ตามควรใช้ยาตามแพทย์สั่งเท่านั้น  
         
                                                                                                                                                       คำแนะนำสำหรับคนเป็นโรคไต       
                                                                                                                                                                    
1. กินอาหารโปรตีนต่ำ หรืออาหารโปรตีนต่ำมากร่วมกับกรดอะมิโนจำเป็น  โดยกินอาหารที่มีโปรตีนคุณภาพสูง   ซึ่งหมายถึงโปรตีนที่ได้จากเนื้อสัตว์ทุกชนิดจำนวน 0.6 กรัม ของโปรตีน / น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม / วัน   โดยไม่ต้องให้กรดอะมิโนจำเป็นหรือกรดคีโต (Keto Acid) เสริม เพราะอาหารโปรตีนในขนาดดังกล่าวข้างต้นให้กรดอะมิโนจำเป็นในปริมาณที่พอเพียงกับความต้องการของร่างกายอยู่แล้ว    ตัวอย่างเช่น  ผู้ป่วยซึ่งมีน้ำหนักตัวเฉลี่ย ประมาณ 50-60 กิโลกรัม ควรกินอาหารที่มีปริมาณโปรตีนสูงประมาณ 30-60 กรัม / วัน  อาจจำกัดอาหารโปรตีนเพื่อชะลอการเสื่อมหน้าที่ของไตได้อีกวิธีหนึ่ง โดยให้ผู้ป่วยกินอาหารโปรตีนต่ำมาก (0.4 กรัม / น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม / วัน) ร่วมกับกรดอะมิโนจำเป็นหรืออนุพันธ์คีโต (Keto Analog) ของกรดอะมิโนจำเป็น  ในกรณีผู้ป่วยมีน้ำหนักเฉลี่ย 50-60 กิโลกรัม  ควรกินโปรตีนประมาณ 20-25 กรัม / วัน เสริมด้วยกรดอะมิโนจำเป็น หรืออนุพันธ์ครีโตของกรดอะมิโนจำเป็น 10-12 กรัม / วัน                                                                                                                                                

           2. กินอาหารที่มีโคเลสเตอรอลต่ำ  โดยผู้ป่วยที่เป็นโรคไตวายเรื้อรังควรควบคุมปริมาณโคเลสเตอรอลในอาหารแต่ละวันไม่ให้เกิน300 มิลลิกรัม / วัน   ด้วยการจำกัดอาหารที่มีโคเลสเตอรอลมาก  เช่น  ไข่แดง  เครื่องในสัตว์ทุกชนิด และนม เป็นต้น                                                                                                                                                                 

           3. งดกินอาหารที่มีฟอสเฟตสูง  ฟอสเฟตมักพบในอาหารที่มีโปรตีนสูงเช่น เนื้อสัตว์  ไข่แดง  นม  และเมล็ดพืชต่าง ๆ  เช่น ถั่วลิสง เม็ดทานตะวัน  เม็ดมะม่วงหิมพานต์  เมล็ดอัลมอนด์   ควรหลีกเลี่ยงอาหารดังกล่าว     พบว่าอาหารที่มีฟอสเฟตสูง จะเร่งการเสื่อมของโรคไตวายเรื้อรังให้รุนแรงมากขึ้น   และมีความรุนแรงของการมีโปรตีนรั่วทางปัสสาวะมาก                                                                                                                                                                    

           4. ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังที่ไม่มีอาการบวม  การกินเกลือในปริมาณไม่มากนักโดยไม่ต้องถึงกับงดเกลือโดยสิ้นเชิง  แต่ไม่ควรกินเกลือเพื่อการปรุงรสเพิ่ม ผู้ป่วยที่มีอาการบวมร่วมด้วย ควรจำกัดปริมาณเกลือที่กินต่อวันให้น้อยกว่า 3 กรัมของน้ำหนักเกลือแกง (เกลือโซเดียมคลอไรด์) ต่อวัน  ซึ่งทำได้โดยกินอาหารที่มีรสชาติจืด งดอาหารที่มีปริมาณเกลือมาก ได้แก่ เนื้อสัตว์ทำเค็ม หรือหวานเค็ม  เช่น  เนื้อเค็ม  ปลาแห้ง กุ้งแห้ง  รวมถึงหมูแฮม  หมูเบคอน  ไส้กรอก  ปลาริวกิว หมูสวรรค์  หมูหยอง  หมูแผ่น  ปลาส้ม  ปลาเจ่า  เต้าเจี้ยว  งดอาหารบรรจุกระป๋อง เช่น ปลากระป๋อง เนื้อกระป๋อง                                                                                                                                                             

            5. ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังที่มีน้ำหนักเกินน้ำหนักจริงที่ควรเป็น (Ideal Weight for Height) ในคนปกติ  ควรจำกัดปริมาณแคลอรีให้พอเพียงในแต่ละวันเท่านั้น คือ ประมาณ 30-35 กิโลแคลอรี / น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม / วัน(https://www.bangkokhospital.com/huahin/index.php/th/health-tips/-7)