"นวัตกรรม การ์ดสีเตือนไต "
หลักการและเหตุผล
โรคไตเรื้อรัง (chronic kidney disease, CKD) เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ สาเหตุของโรคไตเรื้อรังที่พบบ่อยเกิดจากโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง อีกทั้งโรคไตเรื้อรังในระยะแรกมักไม่พบอาการผิดปกติทำให้ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่ทราบว่าตนเองเป็นโรคไต โดยมักตรวจพบเมื่อโรคดำเนินไปมาก แล้วหรือเมื่อโรคดำเนินเข้าสู่ระยะไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย (End stage renal disease, ESRD) ซึ่งเป็นระยะที่ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการรักษาบำบัดทดแทนไต ได้แก่ การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม การล้างไต ทางช่องท้อง หรือการผ่าตัดปลูกถ่ายไต ซึ่งส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
คลินิกโรคไม่ติดเรื้อรังโรงพยาบาลกันทรวิชัย มีผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่ขึ้นทะเบียนรักษา ปี 2559 ทั้งหมด 5,951 คน ได้รับการตรวจการทำงานของไต จำนวน 5,230 คน คิดเป็นร้อยละ 87.88 (รพ.กันทรวิชัย 2558) แบ่งระยะไตวายเรื้อรัง 5 ระยะ ดังนี้
ระยะที่ 1 GFR ≥ 90% จำนวน 1,897 คน
ระยะที่ 2 GFR 60 – 89% จำนวน 2,187 คน
ระยะที่ 3 GFR 30 – 59% จำนวน 918 คน
ระยะที่ 4 GFR 15 – 29% จำนวน 148 คน
ระยะที่ 5 GFR < 15 % จำนวน 80 คน
โดยในระยะที่ 5 มีผู้ป่วยที่ได้รับการบำบัดทดแทนไต ล้างไตทางช่องท้อง (CAPD) จำนวน 15 คน ฟอกเลือด ด้วยเครื่องไตเทียม (HD) จำนวน 5 คน และปฏิเสธการบำบัดทดแทนไตดูแลแบบประคับประครอง จำนวน 60 คน
ดังนั้น
คลินิกโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โรงพยาบาลกันทรวิชัย จึงได้จัดทำ“การ์ดสีเตือนไต” ขึ้น
เพื่อเป็นเครื่องมือในการติดตามเฝ้าระวังโรคไตเรื้อรังของผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงตั้งแต่ ระยะที่ 1- 5 ส่งเสริมการเรียนรู้และสร้างความตระหนักในการชะลอภาวะไตเสื่อม
ป้องกันไม่ให้เกิดโรค ป้องกัน ไม่ให้โรคลุกลาม
และป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนจนมีอันตรายถึงชีวิตหรือพิการ
วัตถุประสงค์
1. เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการติดตามเฝ้าระวังโรคไตเรื้อรังของผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ตั้งแต่ ระยะที่ 1 – 5
2. เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้และสร้างความตระหนักในการชะลอภาวะไตเสื่อม ป้องกันไม่ให้เกิดโรค ป้องกันไม่ให้โรคลุกลาม และป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนจนมีอันตรายถึงชีวิตหรือพิการ โดยการใช้การ์ดสีเตือนไตและสมุดประจำตัว
1. เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการติดตามเฝ้าระวังโรคไตเรื้อรังของผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ตั้งแต่ ระยะที่ 1 – 5
2. เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้และสร้างความตระหนักในการชะลอภาวะไตเสื่อม ป้องกันไม่ให้เกิดโรค ป้องกันไม่ให้โรคลุกลาม และป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนจนมีอันตรายถึงชีวิตหรือพิการ โดยการใช้การ์ดสีเตือนไตและสมุดประจำตัว
ขั้นตอนการดำเนินงาน
1. ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับเรื่องโรคไตเรื้อรัง เพื่อหาข้อมูลพื้นฐานที่ผู้ป่วยควรรู้ เช่น ผลตรวจทาง ห้องปฏิบัติการ การแปลผลค่า eGFR ระยะที่ 1 - 5
2. ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ/แพทย์ประจำคลินิก เกี่ยวกับเนื้อหาของการ์ดสีระยะที่ 1 – 5
3. จัดทำแผนการสอน การชะลอภาวะไตเสื่อม ในผู้ป่วยที่มี eGFR ระดับ 1 - 3 และชะลอการเกิดไตวายระยะสุดท้าย ในผู้ป่วยที่มี eGFR ระดับ 4 - 5 และจัดทำแนวทางการใช้ “การ์ดสีเตือนไต” สำหรับเจ้าหน้าที่
1. ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับเรื่องโรคไตเรื้อรัง เพื่อหาข้อมูลพื้นฐานที่ผู้ป่วยควรรู้ เช่น ผลตรวจทาง ห้องปฏิบัติการ การแปลผลค่า eGFR ระยะที่ 1 - 5
2. ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ/แพทย์ประจำคลินิก เกี่ยวกับเนื้อหาของการ์ดสีระยะที่ 1 – 5
3. จัดทำแผนการสอน การชะลอภาวะไตเสื่อม ในผู้ป่วยที่มี eGFR ระดับ 1 - 3 และชะลอการเกิดไตวายระยะสุดท้าย ในผู้ป่วยที่มี eGFR ระดับ 4 - 5 และจัดทำแนวทางการใช้ “การ์ดสีเตือนไต” สำหรับเจ้าหน้าที่
5. ติด “การ์ดสีเตือนไต” ในสมุดประจำตัว (ตามการแปลผลค่า eGFR) พร้อมทั้งอธิบาย ผลการตรวจ ทางห้องปฏิบัติที่จำเป็นและเกี่ยวข้อง เน้นย้ำเรื่องการปฏิบัติตัวเพื่อชะลอภาวะไตเสื่อม ป้องกันไม่ให้เกิดโรค ป้องกันไม่ให้โรคลุกลามและป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนจนมีอันตรายถึงชีวิตหรือพิการ
ระยะที่ 1 สีฟ้า